วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง


ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้

" .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการ
เกษตรได้ และค้าขายได้.... "


ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ

การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่ี่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผูกพันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "

ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ
เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximizationof Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน


การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า
" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคม

การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลงทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน
การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบตรัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”


@@@@@@@@@@@@@@@@@จงพอใจในสิ่งที่ตนมี และพอดีในการใช้จ่าย @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ที่มา http://www.bpp.go.th/project/project_19.html
วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2553

ในหลวงกับแนวคิดทฤษฎีเรื่องน้ำ




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปว่าพระองค์คือ ปราชญ์ในเรื่องน้ำของแผ่นดินอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการทรงงานหนักตรากตรำอย่างไม่ทรงเคยหยุดหย่อนนั้น งานพัฒนาที่สำคัญยิ่งของพระองค์คือ งานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับน้ำไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำ การเก็บกัก การระบาย การควบคุม การทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ตลอดจนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนั้น ย่อมประจักษ์ชัดและได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระองค์นั้นหาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

ในส่วนที่เกี่ยวกับน้ำนี้ใคร่ขอหยิบยกแนวคิดทฤษฎีที่ทรงดำเนินการเกี่ยวกับน้ำในลักษณะต่างๆ กัน มาแสดงให้เห็นพอสังเขป ณ ที่นี้เพียง 2-3 ประการ เช่น แนวคิดเรื่อง น้ำดีไล่น้ำเสีย ในการแก้ไขมลพิษทางน้ำนั้น ทรงแนะนำให้ใช้หลักการแก้ไขโดยใช้น้ำที่มีคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ช่วยผลักดันและเจือจางน้ำเน่าเสียให้ออกจากแหล่งน้ำของชุมชนภายในเมืองตามคลองต่างๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศน์ และคลองบางลำภู เป็นต้น วิธีนี้จะกระทำได้ด้วยการเปิด ปิดประตูอาคารควบคุมน้ำ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะน้ำขึ้นและระบายน้ำสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในระยะน้ำขึ้นลง ผลก็คือน้ำตามลำคลองต่างๆ มีโอกาสไหลถ่ายเทหมุนเวียนกันมากขึ้น น้ำที่มีสภาพทรงอยู่กับที่และเน่าเสียก็จะกลับกลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น ด้วยวิธีธรรมชาติง่ายๆ อย่างที่ไม่มีผู้ใดคิดมาก่อนเช่นนี้ ได้มีส่วนทำให้น้ำเน่าเสียตามคูคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร มีสภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน วิธีการง่ายๆ เช่นนี้ คือการนำระบบการเคลื่อนไหวของน้ำตามธรรมชาติมาจัดระเบียบแบบแผนขึ้นใหม่ เป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่เรียบง่าย

ไตธรรมชาติ ของกรุงเทพมหานคร ที่บึงมักกะสัน ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของแนวความคิดในเรื่องการบำบัดน้ำเสียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ทรงวางแนวพระราชดำริพระราชทานไว้ว่า เมืองใหญ่ทุกแห่งต้องมีปอด คือสวนสาธารณะไว้หายใจหรือฟอกอากาศ ในขณะเดียวกันก็ควรมีแหล่งน้ำไว้สำหรับกลั่นกรองสิ่งโสโครกเน่าเสีย ทำหน้าที่เสมือนเป็นไตธรรมชาติ จึงได้ทรงใช้บึงมักกะสัน เป็นแหล่งน้ำที่รองรับน้ำเสียจากชุมชนในเขตปริมณฑลและในกรุงเทพมหานคร โดยทรงเปรียบเทียบว่า บึงมักกะสัน เป็นเสมือนดังไตธรรมชาติของกรุงเทพมหานคร ที่เก็บกักและฟอกน้ำเสียตลอดจนเป็นแหล่งเก็บกักและระบายน้ำในฤดูฝน และที่บึงแห่งนี้เองก็ได้โปรดให้มีการทดลองใช้ผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชที่ต้องการกำจัดอยู่แล้วมาช่วยดูดซับความสกปรก ปนเปื้อน รวมตลอดทั้งสารพิษต่างๆ จากน้ำเน่าเสีย ประกอบเข้ากับเครื่องกลบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ที่ ได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นเองโดยเน้นวิธีการที่เรียบง่ายประหยัด และไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนในพื้นที่นั้น มีพระราชกระแสในเรื่องนี้ว่า

สวนสาธารณะ ถือว่าเป็นปอด แต่นี่ (บึงมักกะสัน) เป็นเสมือนไตฟอกเลือด ถ้าไตทำงานไม่มีเราก็ตาย อยากให้เข้าใจหลักการของความคิดนี้... บึงมักกะสันในปัจจุบันได้ทำหน้าที่ ?ไตธรรมชาติ? ของกรุงเทพมหานครอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีส่วนช่วยบรรเทามลพิษทางน้ำ และเป็นแหล่งศึกษาทดลองด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพ และการนำของเสียมาใช้ให้ก่อประโยชน์ได้อย่างยิ่ง
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีอยู่มากและหลายหลายดังได้กล่าวไว้แล้วเป็นปฐม โดยนับตั้งแต่แนวความคิดในโครงการเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเกิดจากน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยถึงปัญหาวิกฤตการณ์น้ำที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยในอนาคต คือปัญหาน้ำทาวมกับปัญหาน้ำแล้ง ซึ่งเกิดขึ้นสลับกันอยู่ตลอดเวลา สร้างความสูญเสียอันยิ่งใหญ่แก่เกษตรกรและประชาชนโดยทั่วไปอยู่เป็นประจำ จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดสร้างโดยเร่งด่วน เพื่อเป็นแหล่งต้นทุนน้ำชลประทานในการเกษตรกรรมในฤดูแล้ง เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลาก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ในภาคกลาง และเพื่อผลประโยชน์ทางอ้อมนานัปการที่จะบังเกิดขึ้น สำหรับในเรื่องนี้ได้เคยมีพระราชกระแสไว้ด้วยความห่วงใยว่า

...หากประวิงเวลาต่อไปไม่ได้ทำ เราก็ต้องอดน้ำแน่ จะกลายเป็นทะเลทราย และเราก็จะอพยพไปไหนไม่ได้ โครงการนี้คือ สร้างอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งคือ ที่แม่น้ำนครนายก 2 แห่งรวมกันจะเก็บน้ำเหมาะสมพอเพียงสำหรับการบริโภค การใช้น้ำในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงในที่ราบลุ่มของประเทศไทย...


แนวความคิดหลักในเรื่องที่จะต้องมีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งและป้องกันบรรเทาน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากนั้น ก็เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม่น้ำป่าสักมีปริมาณน้ำไหลเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตร เฉพาะปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนและตุลาคมจะมีถึงประมาณ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากเป็นฤดูฝน แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าปริมาณน้ำเหล่านี้ถูกปล่อยทิ้งลงทะเลโดยเปล่าประโยชน์ แทนที่จะได้เก็บกักไว้ใช้เพื่อการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค และอื่นๆ ในฤดูแล้งและช่วยลดความสูญเสียจากอุทกภัยซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำได้ ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีระบบเก็บกักน้ำที่สมบูรณ์นั่นเอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำหลายครั้งและให้ความสำคัญแก่โครงการนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากหากดำเนินการได้สำเร็จโดยเร็ว ปัญหาและวิกฤตการณ์เกี่ยวกับน้ำในทุกรูปแบบของประเทศไทย ก็จะบรรเทาเบาบางลงได้แน่นอน นอกเหนือไปจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักแล้ว ทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ประสบกับปัญหาของน้ำท่วม น้ำจืด น้ำเปรี้ยว น้ำเค็ม อันเป็นผลทำให้เกษตรกรรมไม่ได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่โดยรอบเขตพรุและที่ใกล้กับเขตดินพรุและที่ใกล้กับเขตดินพรุ เช่น บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และบริเวณลุ่มน้ำบางนรา เป็นต้น โดยมีหลักการสำคัญให้วางโครงการและก่อสร้างระบบแยกน้ำ 3 รส ออกจากกันคือ สร้างระบบป้องกันน้ำเปรี้ยวจากพรุท่ำให้พื้นที่เกษตรกรรามเป็นกรด ระบบป้องกันน้ำเค็มบุกรุก และระบบส่งน้ำจืดช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม และเพื่อการอุปโภคบริโคค เกี่ยวกับโครงการฯ นี้ได้ทรงวางแนวคิดและวิธีการในเรื่องการแยกน้ำแต่ละประเภทในพื้นที่เดียวกันให้แยกออกจากกันด้วยวิธีการที่แยบยล อันแสดงถึงพระอัจฉริยภาพในศาสตร์ของน้ำอย่างแท้จริง


#####################ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ส่วนน้ำใจใช้ให้เปลือง ๆ#######################


ที่มา http://www.chaipat.or.th/
วันที่ค้นข้อมูล 18 กุมภาพันธ์ 2553

พลังงานทดแทน น้ำมันแก๊สโซฮอล์




แนวพระราชดำริเกี่ยวกับพลังงานทดแทน น้ำมันแก็สโซฮอล์ น้ำมันแก็สโซฮอล์ หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมแอลกอฮอล์และน้ำมันเบนซิน งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และมีพระราชดำรัสให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์ (เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล) จากอ้อย เพราะในอนาคตอาจเกิดภาวะน้ำมันขาดแคลนหรือราคาอ้อยตกต่ำ การนำอ้อยมาแปรรูปเป็นเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินทุนวิจัยใช้ในการดำเนินงาน ๙๒๕,๕๐๐ บาท เพื่อใช้ในการจัดสร้างอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในขั้นต้น

วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารโครงการค้นคว้าน้ำมันเชื้อเพลิงและเริ่มผลิตเอทานอลจากอ้อย แต่ต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่มาก
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท สุราทิพย์ จำกัด มีการปรับปรุงหอกลั่นเอทานอลให้สามารถกลั่นเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ ร้อยละ ๙๕ ได้ในอัตรา ๕ ลิตร ต่อชั่วโมง วัสดุที่ใช้หมักคือ กากน้ำตาล ซึ่ง บริษัท สุราทิพย์จำกัด น้อมเกล้าฯ ถวาย


ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ร่วมกับบริษัท สุราทิพย์ จำกัด ได้ขยายกำลังการผลิตเอทานอลเพื่อให้มีปริมาณเพียงพอผสมกับน้ำมันเบนซิน ในอัตราส่วนเอทานอลต่อเบนซินเท่ากับ ๑ : ๔ เชื้อเพลิงผสมที่ได้เรียกว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล์

น้ำมันแก็สโซฮอล์ที่ผลิตได้นั้น ถูกนำไปใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ทุกคันโครงการฯ ที่ใช้น้ำมันเบนซิน โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ๕๐ ปี ของสำนักพระราชวัง

วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงที่บริษัท สุราทิพย์ จำกัด (ปัจจุบันคือ กลุ่มบริษัท 43) น้อมเกล้าฯ ถวายและดำเนินการกลั่นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน กำลังการผลิตหอกลั่น ๒๕ ลิตรต่อชั่วโมง คิดเป็นต้นทุนการผลิตแบบธุรกิจทั่วไป ๓๒ บาทต่อลิตร ถ้าคิดต้นทุนการผลิตแบบยกเว้นต้นทุนคงที่ราคา ๑๒ บาทต่อลิตร (ทำการผลิต ๔ ครั้งต่อเดือน) ได้เอทานอลประมาณ ๙๐๐ ลิตร ต่อการกลั่น ๑ ครั้ง ใช้กากน้ำตาลความหวานร้อยละ ๔๙ โดยน้ำหนัก ครั้งละ ๓,๖๔๐ กิโลกรัม น้ำกากส่า (น้ำเสียจากหอกลั่น) ส่วนหนึ่งจะใช้รดกองปุ๋ยหมักที่โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ การปิโตเลียมแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์เพื่อให้ความสะดวกกับรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสถานีบริการแก๊สโซฮอล์ดังกล่าว

ต่อมาวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ โครงการส่วนพระองค์ฯ ร่วมกับการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของเอทานอล ที่ใช้เติมรถยนต์ โดยโครงการส่วนพระองค์ฯ ส่งเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ ๙๕ ไปกลั่นซ้ำเป็นเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ ๙๙.๕ ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยแล้วนำกลับมาผสมกับน้ำมันเบนซินธรรมดาในอัตราส่วน ๑ : ๙ ได้แก๊สโซฮอล์ที่มีค่าออกเทนเทียบเท่าน้ำนัมเบนซิน ๙๕ เปิดจำหน่ายแก่ประชาชนที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาสำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๕๔๔



ในน้ำมันปิโตรเลียมซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอน เผาไหม้อย่างไรก็ไม่หมด จะมีสารที่เผาไหม้ไม่หมด (unburnt ) เหลืออยู่จากการเผาไหม้ อาทิ คาร์บอน มอนนอกไซด์ (carbon monoxide ) ในปริมาณที่สูงซึ่งเป็นมลภาวะ แต่ในเอทานอลแม้ว่าจะมีสัดส่วนเพียงแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ในแก๊สโซฮอล์ ก็สามารถลดมลภาวะได้มาก เนื่องจากในเอทานอลมีออกซิเจน (oxygen) เป็นส่วนประกอบ ออกซิเจนจะช่วยในการเผาไหม้ให้สมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ เอทานอลจึงเป็นทั้งสารช่วยในการเผาไหม้และสารเพิ่มค่าออกเทน (octane enhancer ) อีกด้วย


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ที่มา http://www.belovedking.com/index.php/2008-10-30-02-06-29
วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2553

ทฤษฎีแกล้งดิน


โครงการแกล้งดิน ฟังจากชื่อแล้วคงสงสัยใช่ไหมคะว่าจะแกล้งดินอย่างไร แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพของในหลวงของเรา ท่านทรงใช้วิธีแก้ไขดินที่เปรี้ยวจัดให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้ง พระองค์ทรงศึกษาเรื่องของดินอย่างลึกซึ้งและหาทางแก้ไขให้พวกเราปวงชนชาวไทย ขอเชิญศึกษารายละเอียดได้เลยค่ะ

ที่มาของโครงการ สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานไปยังจังหวัดต่าง ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งมิได้เพื่อทรงพักผ่อนเช่นสามัญชนทั่วไป แต่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรหรือติดตามโครงการต่าง ๆ ที่ทรงริเริ่มหรือมีพระราชดำริไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการถวายความสะดวกแด่พระประมุขของชาติ รัฐบาลจึงสร้างพระตำหนักน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่ประทับในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไว้ในหลายจังหวัด เช่น พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ที่จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดภาคใต้ ทำให้ทรงทราบว่าราษฎรมีความเดือดร้อนหลายเรื่องโดยเฉพาะในกลุ่มของเกษตร เช่น การขาดแคลนที่ทำกินหรือปัญหาในพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำขังอยู่ตลอดปี แม้สามารถทำให้น้ำแห้งได้ ดินในพื้นที่เหล่านั้นก็ยังเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุนพระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ว่ามีความจำนงเร่งด่วนที่จะต้องพระราชทานความช่วยเหลือ ดังจะเห็นได้จากความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสต่อไปนี้




“ ..ที่ที่น้ำท่วมนี่หาประโยชน์ไม่ได้ถ้าเราจะทำให้มันโผล่พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไป ก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในเรื่องของการทำมาหากินอย่างมหาศาล..”
พระองค์ทรงมอบให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำแช่ขังอยู่ตลอดปี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำเกษตรให้ได้มากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าพรุด้วย

การที่ดินในป่าพรุเป็นดินเปรี้ยวจัดก็เพราะ ดินเหล่านี้เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุคือรากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และในระดับความลึกประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งมีสารประกอบไพไรต์หรือกำมะถันอยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง กรดกำมะถันก็จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด พระองค์จึงมีพระราชประสงค์จะแก้ไขปัญหานี้ให้กับราษฎร

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ อันเป็นต้นกำเนิดของโครงการ แกล้งดิน ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ความว่า “..ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี ..”

โครงการ “ แกล้งดิน” จึงกำเนิดขึ้นโดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นหน่วยดำเนินการสนองพระราชดำริ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกำมะถัน
การดำเนินงาน
วิธีดำเนินการในโครงการ เริ่มจากการแกล้งดินให้เปรี้ยวโดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินซึ่งจะไปกระตุ้นสารประกอบกำมะถันหรือสารประกอบไพไรต์ ให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศส่งผลให้ดินเป็นกรดจัดคือต้องการ “แกล้งดินให้เปรี้ยวจนสุดขีด” จนพืชเศรษฐกิจต่างๆ ไม่สามารถเจริญงอกงามให้ผลผลิตได้ จากนั้นจึงหาวิธีปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ โดยมีแนวพระราชดำริดังนี้

1. แก้ไขโดยวิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน พยายามคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนซึ่งมีสารประกอบไพไรต์ เป็นการป้องกันมิให้สารประกอบไพไรต์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.1 วางระบบการระบายน้ำทั่วทั้งพื้นที่

1.2 ระบายน้ำเฉพาะส่วนบนออก เพื่อชะล้างกรด

1.3 รักษาระดับน้ำในคูระบายน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 เมตรจากผิวดินตลอดทั้งปี

2. แก้ไขโดยวิธีปรับปรุงดินตามแนวพระราชดำริ โครงการนี้จะมีวิธีปรับปรุงดิน 3 วิธีอาจเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและตามสภาพของดิน คือ

วิธีการที่ 1 ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
-ใช้น้ำชะล้างดินเพื่อล้างกรด ทำให้ค่า pH เพิ่มขึ้น โดยวิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมขังแปลงแล้วระบายออก ทำเช่นนี้ประมาณ 2-3 ครั้ง โดยเว้นให้ห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์

-ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือในฤดูแห้ง ดังนั้น การชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการช้ำชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาวมิใช่กระทำเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้นวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก

-เมื่อดินคลายความเปรี้ยวลงแล้วจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารละลายเหล็กและอะลูมินัมที่เป็นพิษก็เจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตเช่วยก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีถ้าหากใช้ปุ๋ยในโตรเจนและฟอสเฟตช่วยก็สามารถทำการเกษตรได้

วิธีการที่ 2 การแก้ไขดินเปรี้ยวโดยใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน คือ
-ใช้วัสดุปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (mar) สำหรับภาคกลาง หรือปูนฝุ่น ( lime dust ) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกกลบคืน ( ปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในความเป็นกรดของดิน )

วิธีการที่ 3 การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดินเป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงหรือถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานาน
วิธีการแก้ไข ให้ปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้

-หว่านปูนให้ทั่วพื้นที่ โดยใช้ปูน 1-2 ตันต่อไร่ แล้วไถกลบ

-ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดออกจากหน้าดิน

-ควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มากเพื่อป้องกันมืให้ทำปฏิกริยากับออกซิเจน เพราะจะทำให้ดินกลายเป็นกรด

3. การปรับสภาพพื้นที่ เนื่องจากสภาพพื้นที่ดินเปรี้ยวในแถบนี้เป็นป่าพรุ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม จึงทำการระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ลำบาก จำเป็นต้องมีการปรับสภาพพื้นที่ ซึ่งโดยทั่วไปทำกันอยู่ 2 วิธี คือ

3.1 การปรับผิวหน้าดิน โดยการทำให้ผิวหน้าดินลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้หรือถ้าเป็นการทำนาก็จัดตกแต่งแปลงนาและคันนาให้สามารถเก็บกักน้ำและสามารถระบายน้ำออกได้ถ้าต้องการ

3.2 การยกร่องปลูกพืช วิธีนี้ใช้สำหรับพื้นที่ที่จะทำการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น แต่วิธีนี้จำเป็นจะต้องมีแหล่งน้ำชลประทาน เพราะจะต้องขังน้ำไว้ในร่องเพื่อใชถ่ายเทเปลี่ยน เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด

ในการขุดร่องนี้ เกษตรกรจะต้องทราบว่าในพื้นที่นั้นมีดินชั้นเลนซึ่งเป็นดินที่มีสารประกอบไพไรต์มากอยู่ลึกในระดับใด เพราะเมื่อขุดร่องจะให้ลึกเพียงระดับดินเลนนั้น โดยทั่วไปจะลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร

ขั้นตอนการขุดร่องสวน มีดังนี้
-วางแนวร่องให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่จะปลูก ซึ่งโดยทั่วไปสันร่องสวนจะกว้างประมาณ 1-1.5 เมตร

-ระหว่างร่องที่จะขุดคู ให้ใช้แทรกเตอร์ปาดหน้าดินมาวางไว้กลางสันร่อง ดินเหล่านี้จะเปรี้ยวจัด แต่ส่วนใหญ่จะมีอินทรียวัตถุสูงและค่อนข้างร่วนซุยจึงมีประโยชน์มาก หากจะนำมากองไว้ช่วงกลางสันร่องต้องทำดังนี้ เพื่อไม่ให้หน้าดินดังกล่าวถูกดินที่ขุดขึ้นมาจากคูกลบหมด

-ขุดดินจากคูที่วางแนวไว้มากลยบริเวณขอบสันร่อง ซึ่งหน้าดินถูกปาดไปแล้ว การทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เกิดสันร่อง ควรให้สูงอย่างน้อย 50 เซนติเมตรเพราะเหมาะที่จะปลูกไม้ปหรือไม้ยืนต้นต่าง ๆ

-เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ควรมีคันดินล้อมรอบสวน คันดินควรอัดแน่นเพื่อป้องกันน้ำซึมและควรมีระดับความสูงมากพอที่จะป้องกันน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนได้ด้วย

-จำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำเข้า-ออก ได้เมื่อต้องการโดยทั่ว ๆ ไปแล้วน้ำที่จะนำเอาไปขังในร่องสวน หากปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 3-4 เดือน ต่อครั้ง แล้วดูดน้ำชลประทานเข้ามาในร่องสวนเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ดังเดิม

การยกร่องปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนว่าน้ำท่วมถึงหรือไม่ หากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมสูงก็ไม่ควรจะทำ เพราะไม้ผลเป็นพืชที่ให้ผลระยะยาวหรืออย่างน้อย 5-10 ปี ถ้าเกิดอุทกภัยขึ้นมาจะสร้างความเสียหายให้แก่พืชสวนก็หมายถึงเงินทุนสูญเปล่า

ถ้าคาดว่าพื้นที่ดังกล่าวเสี่ยงจากการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเป็นพืชล้มลุกหรือพืชผักโดยปลูกหมุนเวียนกับข้าวคือปล่อยให้น้ำท่วมร่องในฤดูฝนแล้วปลูกข้าวบนสันร่อง ก็จะช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายเพราะไม่จำเป็นต้องสูบน้ำออก พอพ้นฤดูฝนก็ปลูกพืชผักหรือพืชล้มลุกตามความต้องการของตลาด ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
1. เพื่อปลูกข้าว ในเขตชลประทาน ถ้าดินมีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตราส่วนประมาณ 1.5 ตันต่อไร่ และถ้าดินมีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ให้ใช้ปูนในอัตรา 1 ตันต่อไร่ ในเขตเกษตรน้ำฝน ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตราประมาณ 2.5 ตันต่อไร่และถ้าดินมีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนในอัตรา 1.ตันต่อไร่

ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว

1.เมื่อหว่านปูนแล้วให้ทำการไถแปร

2.ปล่อยน้ำเข้าในนาแล้วแช่ขังไว้ประมาณ 10 วัน

3.จากนั้นให้ระบายน้ำออกเป็นการชะล้างสารพิษ

4.ปล่อยน้ำเข้าไปขังใหม่เพื่อใช้ในการปักดำ

2. เพื่อปลูกพืชล้มลุก จะแยกเป็นการปลูกผักและการปลูกพืชไร่

2.1 การปลูกพืชผัก มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ


1) ยกร่องสวน โดยใช้สันร่องมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เมตร มีคูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตรและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร หรือลึกพอถึงระดับขั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก

2) ไถพรวนดิน แล้วตากทิ้งไว้ 3-5 วัน

3) ทำแปลงย่อยบนสันร่อง โดยยกแปลงให้สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะเมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตก

4) ใส่วัสดุปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดินคือใช้หินปูนฝุ่นหรือปูนมาร์ลอัตราประมาณ 2-3 ตันต่อไร่หรือประมาณ 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยการคลุกเคล้าปูนให้เข้ากับดินและทิ้งไว้ 15 วัน

5) ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรียในอัตรา 5 ตันต่อไร่หรือประมาณ 3 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยใส่ก่อนปลูก 1 วันเพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุยมีส่วนประกอบของดินดี

2.2 การปลูกพืชไร่บางชนิด อาจกระทำได้ 2 วิธี คือ แบบยกร่องสวนและแบบปลูกสลับหลังฤดูทำนา การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนเป็นการปลูกพืชไร่แบบถาวร มีวิธีเตรียมพื้นที่แบบเดียวกับการปลูกพืชผัก สำหรับการปลูกพืชไร่แบบปลูกสลับหลังฤดูทำนาจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนหรือหลังจากฝนหยุดตกแล้วการเตรียมพื้นที่ก็เนเดียวกันการเตรียมเพื่อการปลูกพืชไร่ทั่ว ๆ ไห แต่อาจต้องยกแนวร่องปลูกพืชไร่ให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดินตอนประมาณ 10-20 เซนติเมตรเพื้อป้องกันมิให้น้ำแช่ขัง ถ้ามีฝนตกผิดฤดูหรือถ้าดินในบริเวณนั้นเคยได้รับ การปรับปรุงโดยใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก

3. เพื่อปลูกไม้ผล ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1) สร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบแปลง เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในฤดูฝน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ ขนาดของเครื่องสูบน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณพื้นที่ที่จะสูบและปริมาตรน้ำฝน โดยประมาณจากปริมาตรของฝนที่ตกลงมาเป็นประจำ

2) ทำการยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผลดังที่กล่าวแล้ว

3) น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องทำการระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทนใหม่ ช่วงเวลาถ่ายน้ำประมาณ 3-4 เดือนต่อครั้ง

4) ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำไม่ให้ต่ำว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพื่มขึ้น

5) ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น ตามแต่จะหาได้ภายในพื้นที่ โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกในอัตราประมาณ 1-2 ตันต่อไร่

6) ระยะเวลาที่ปลูกกำหนดให้เหมาะสมตามชนิดของพืช

7) ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว และลึก 50-100 เซนติเมตร แยกดินชั้นบนและชั้นล่างไว้ต่างหาก ตากทิ้งไว้ 1-2 เดือนเพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่าง แล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ปุ๋ยหมักใส่ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อตัน โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตราประมาณ 15 กิโลกรัมต่อหลุม

8) ดูแลปราบวัชพืช ดรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินให้พิจารณาตามความเหมาะสม

จากแนวพระราชดำริในทฤษฎี “ แกล้งดิน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยต่อและสรุปผลได้ดังนี้

ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกรดกำมะถัน เพื่อเร่งให้ดินเป็นกรดจัดรุนแรง โดยการทำให้ดินแห้งเปียกสลับกัน จากนั้นจึงศึกษาวิธีการปรับปรุงดินด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ดินที่เหมาะสมในการปลูกพืช คือ

แบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 6 แปลง แปลงที่ 1-4 ทดสอบขังน้ำไว้ 4 สัปดาห์แล้วปล่อยให้แห้ง 8 สัปดาห์สลับกันไป แปลงที่ 5 และ 6 ปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ นำดินจากพื้นที่ทั้ง 6 แปลงมาตรวจวิเคราะห์พบว่าการทำให้ดินแห้งและเมื่อทดลองต่อไปก็พบว่า ยิ่งปล่อยให้ดินแห้งนานมากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงมากกว่าการให้น้ำขังนาน ๆ และการใช้น้ำหมุนเวียนไม่มีการระบายออก จะทำให้ความเป็นกรดและสารพิษในดินสะสมมากขึ้น

ต่อมาได้ดำเนินการปรับปรุงดิน โดยการใช้น้ำชะล้างแล้วใส่หินปูนฝุ่นในปริมาณน้อย สามารถปรับปรุงดินกรดกำมะถันได้อย่างดี การใช้น้ำชะล้างพียงอย่างเดียวก็ได้ผลเช่นกัน แต่ต้องใช้เวลานานกว่า และหลังจากปรับปรุงดินแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ใช้ประโยชน์จะทำให้ดินกลับเป็นกรดจัดรุนแรงขึ้นอีก และถ้าปล่อยดินให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่มีการปรับปรุง จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเป็นกรดจัดน้อยกว่า

ด้วยพระเมตตา บัดนี้พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดมืใช่พื้นที่ไร้ประโยชน์อีกแล้ว แต่สามารถนำมาทำการเกษรตได้ทั้งปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ อ้อย งา มันเทศ พืชผัก ไม้ผลและไม้ยืนต้น พืชอาหารสัตว์ และขุดบ่อเลี้ยงปลา ได้ผลดีจนนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นของราษฏรในแถบนั้น ซึ่งต่างพากันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิรู้ลืม







ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ที่มาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2553

โครงการฝนหลวง


"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."

โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง
ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติจนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าวทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้นในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการ
ในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูง ไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยูู่่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้นทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


ที่มา http://fighto.igetweb.com/index.php?mo=3&art=123542
วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2553

โครงการแก้มลิง


"...ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง... เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ "โครงการแก้มลิง" น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."

พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘
"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำ
เขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่อสภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน
คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ
เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง
เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่
ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล
ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป

แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ

ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวง
ได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ
คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำโดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้มลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง


"โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเล
ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน
"โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำ
ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วม
ออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
ซึ่งใช้หลักการ ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมาก
ลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ

โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า

"...ได้ดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


ที่มา http://fighto.igetweb.com/index.php?mo=3&art=123541
วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2553

กังหันชัยพัฒนา


จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มีอัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบางและกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ

เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟองChaipattana Aerator, Model RX-1
เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท"Chaipattana Aerator, Model RX-5
เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8 เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9
เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2
เครื่องกลเติมอากาศต่างๆนี้ได้นำมาติดตั้งใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียตามสถานที่ต่างๆตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532 และได้มีการปรับปรุงตลอดเวลาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะให้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกในการใช้งาน ประหยัดค่าใช้จ่าย และบำรุงรักษาได้ง่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็นลงได้มากและมีปริมาณ ออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น บรรดาสัตว์น้ำ อาทิเต่า ตะพาบน้ำ และปลา สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมลสารต่าง ๆ ให้ลดต่ำลง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร้องขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัด น้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็นจำนวนมากเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกใน ประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัล ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง
หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญคือ

โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตรทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลาย เข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว
ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลัง เคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ รวมทั้งการโยกตัว ของทุ่นลอยในขณะทำงานสามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับ ความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการ ทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน เครื่องกลนี้สามารถที่จะบำบัดน้ำเสียที่มี ความสกปรก (BOD) 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้สูงกว่า 90 เปอร์เซนต์ และสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์คิดเป็นจำนวนความสกปรกในหน่วยกิโลกรัม BOD เสียค่าใช้จ่าย 3.84 บาทเท่านั้น

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้านางสาวสุธีรา ศิริพิรุณ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ม.ราชภัฏจอมบึง ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย ขอพระองค์มีพระพลานามัยแข็งแรง และทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน


ที่มา http://fighto.igetweb.com/index.php?mo=3&art=123729
วันที่ค้นข้อมูล 28 มกราคม 2553