วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้






พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่ง ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่งกล่าวคือ ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น คือน้ำ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ ฝายกั้นน้ำหรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่า ฝายชะลอความชุ่มชื้น ก็ได้เช่นกัน

Check Dam คือสิ่งที่ก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ทำให้พืชสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชาธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น จะต้องสร้างฝายเล็ก เพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำ
ค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย...

ในส่วนของรูปแบบและลักษณะ Check Dam นั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ว่า ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบทิ้งหินคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารเล็ก ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชี้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ...

ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแยกออกเป็น 2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ Check Dam มี 2 อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันมิให้ทรายลงในอ่างใหญ่

จึงอาจกล่าวได้ว่า Check Dam นั้น ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ส่วนประเภทที่สองนั้นเป็นฝายดักตะกอนนั่นเอง

การสร้าง Check Dam พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า

...สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทรายไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึก เพราะถ้าทรายมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้าเป็น Check Dam สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไรไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไป...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ

1. ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน

2. การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้


Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ


1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้และท่อนไม้ล้ม ขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่าย ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ ซึ่งสามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี วิธีการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลยนอกจากใช้แรงงานเท่านั้น

การก่อสร้าง Check Dam แบบง่ายนี้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

1.1 ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยหิน

1.2 ก่อสร้างด้วยไม้ขนาบด้วยถุงบรรจุดินหรือทราย

1.3 ก่อสร้างแบบคอกหมูแกนดินอัดขบานด้วยหิน

1.4 ก่อสร้างแบบเรียงด้วยหินแบบง่าย

1.5 ก่อสร้างแบบคอกหมูหินทิ้ง

1.6 ก่อสร้างแบบคอกหมูถุงทรายซีเมนต์

1.7 ก่อสร้างแบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง

1.8 ก่อสร้างแบบถุงทรายซีเมนต์

1.9 ก่อสร้างแบบคันดิน

1.10 ก่อสร้างแบบหลักไม้ไผ่สานขัดกัน อันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน


2. Check Dam แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดีบางส่วน





3. Check Dam แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ 40,000-50,000 บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร



ข้อคำนึงในการสร้าง Check Dam

1. ควรสำรวจสภาพพื้นที่ วัสดุก่อสร้างตามธรรมชาติ และรูปแบบ Check Dam ที่เหมาะสมกับภูมิประเทศมากที่สุด

2. ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอที่จะไม่เกิดการพังทลายเสียหายยามที่ในตกหนักและกระแสน้ำไหลแรง

3. ควรก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ เพื่อที่จะได้ Check Dam ในขนาดที่ไม่เล็กเกินไป อีกทั้งยังสามารถกักน้ำและตะกอนได้มากพอสมควร และในลำห้วยที่มีความลาดชันสูงก็ควรสร้าง Check Dam ให้ถี่ขึ้น

4. วัสดุก่อสร้าง Check Dam ประเภทกิ่งไม้ ท่อนไม้ ที่นำมาใช้ในการสร้างจะต้องนะมัดระวังใช้เฉพาะไม้ล้มขอนนอนไพรเป็นลำดับแรกก่อนที่จะใช้กิ่งไม้ ท่อนไม้จากการริดกิ่ง ถ้าจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุด

5. ถ้าสร้าง Check Dam แบบคอกหมูแกนดินอัดแน่น ควรมีทางระบายน้ำด้านข้างเพื่อป้องกันน้ำกัดชะสันฝายจากการที่มีฝนตกหนักจนมีน้ำหลากมาก

6. ควรปลูกไม้ยืนต้นยึดดินบนสันฝาย เช่น ไคร้น้ำ หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถขึ้นได้ดีบนที่ชื้น

7. ควรดำเนินการก่อสร้าง Check Dam หลังฤดูฝนหรือหลังน้ำหลาก และทุกปีควรมีการบำรุงรักษา ขุดลอกตะกอน ซ่อมแซมสันฝายและทางระบายน้ำล้นอยู่เป็นประจำ

แนวทางที่เหมาะสมในการสร้าง Check Dam

ก่อนดำเนินการ ควรสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดินหรือปัญหาพื้นที่ขาดความ ชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำและสำรวจหาข้อมูลปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งสร้าง Check Dam ดังนี้

1. ในพื้นที่ลาดชันสูง ในกรณีที่ความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร ควรสร้างฝายผสม ใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดินหรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือในลำห้วยมีน้ำมากควรเพิ่มโครงสร้างของ Check Dam เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ

2. ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง ควรสร้าง Check Dam แบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูให้ใช้หินเรียงหรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง

3. ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากควรสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้ามีน้ำไม่มากนักและความกว้างไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์ได้



นานาประโยชน์จาก Check Dam อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1. ช่วยลดการพังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำเพิ่มมากขึ้น ความชุ่มชื้นมีมากขึ้น และแผ่ขยายกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย

2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง

3. เพิ่มความหลาดหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ จากการที่ความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของพันธุ์พืชก็ย่อมจะมีมากขึ้น

4. การที่สามารถกักเก็บน้ำไว่ได้บางส่วนนี้ ทำให้กิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย

Check Dam จึงนับเป็นพระราชดำริที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ที่ยังประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติทั้งมวลฝาย(check dam)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญ ของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่ง ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือ ปัญหาที่สำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น น้ำ คือสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกว่า ฝายชะลอความชุ่มชื้น ก็ได้เช่นกัน Check Dam คือสิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

    ทรงพระเจริญอยู่ยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ ตลอดกาล ตลอดไป...


    ที่มา http://board.kapook.com/viewthread.php?tid=16245
    วันที่สืบค้นข้อมูล 19 กุมภาพันธ์ 2553

    วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

    โครงการสวนจิตรลดา


    โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มดำเนินการทดลองการแปรรูปผลิตผลการเกษตรขึ้นในพระราชวังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔

    "... วันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญ เพราะโรงงานนี้เป็นโรงงานตัวอย่าง และจะดำเนินการเป็นตัวอย่างสำหรับกสิกรและผู้ที่สนใจในการผลิตนมในประเทศไทย โรงงานนี้เป็นแห่งแรกที่ทำขึ้นในเมืองไทย และก็เป็นที่น่าภูมิใจว่าคนไทยได้ออกแบบและเป็นผู้สร้าง ขอให้ถือว่าโรงงานนี้เป็นโรงงานตัวอย่าง ใครอยากได้ความรู้ ใครอยากที่จะทำกิจการโคนมให้สำเร็จ ให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์แก่ตน แก่เศรษฐกิจของบ้านเมืองก็ให้มาดูกิจการได้ทุกเมื่อ ..."

    พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในพิธีเปิดโรงงานนมผง " สวนดุสิต " ณ บริเวณสวนจิตรลดา วันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๒พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานทรัพย์ส่วน พระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างและพระราชทานโอกาสให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจ " ดูกิจการได้ทุกเมื่อ " ในแต่ละปีจึงมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานโครงการต่าง ๆ เกือบ ๒๐ , ๐๐๐ คนต่อปี ลักษณะของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
    โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทรงให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และสนับสนุนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือ ไปจากภาคเกษตร อีกทั้งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการเหล่านี้ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลองข้าวไร่ การผลิตแก๊สชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สวนพืชสมุนไพร สาหร่ายเกลียวทองโครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน


    โครงการกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่

    โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงบดและอัดแกลบ ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์ โรงเนยแข็ง โรงสีข้าว โรงเห็ด โรงอาหารปลา โรงผลิตกระดาษสา และโรงหล่อเทียนหลวง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาที่จัดอยู่ ในกลุ่มของอุตสาหกรรมเกษตรมีมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทั้งในด้านอยู่ดีกินดีและเสริมสร้างรายได้ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา เริ่มจากในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีบริษัทและหน่วยราชการน้อมเกล้าฯ ถวายโค ๖ ตัว ซึ่งเป็นโคตั้งท้องแล้ว ๔ ตัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับสร้างโรงงานโคนม ราคา ๓๒ , ๘๘๖ . ๗๓ บาทขึ้นในบริเวณสวนจิตรลดา ต่อมาเมื่อแม่โคตกลูกและเริ่มทำการรีดนม น้ำนมที่เหลือจากการแบ่งให้ลูกโคกินแล้ว ได้นำไปจำหน่าย เมื่อมีจำนวนโคนมเพิ่มขึ้น ทั้งจากแม่โคที่ให้ลูกทุกปี และมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายสมทบ ทำให้สามารถผลิตน้ำนมออกจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกและโรงเรียนต่าง ๆ ในละแวกใกล้เคียง เมื่อมีกำไรสะสมมากยิ่งขึ้น ก็ได้ขยายงานออกไปตามลำดับทั้งในด้านการผลิตน้ำนม คุณภาพนมดิบ และการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร ผลพลอยได้จากโรงโคนมคือ มูลโคซึ่งเมื่อนำมาหมักจะได้ " ไบโอแก๊ส " หรือ " แก๊สชีวภาพ " สำหรับเป็นเชื้อเพลิง กากจากบ่อหมักแก๊สชีวภาพยังสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย มูลโคที่เป็นสารละลายที่อยู่ในถังหมัก ส่วนหนึ่งนำไปใช้สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งสามารถนำไปทำอาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงปลาอีกส่วนหนึ่งทำเป็นปุ๋ยใส่ แปลงพืชอาหารสัตว์ และบางส่วนนำไปใช้สำหรับบำรุงบ่อเพาะพันธุ์ปลานิล

    เครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สถาบันการศึกษาและบริษัทเอกชนเยอรมัน ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายเครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้อบผลิตผลทางเกษตรต่าง ๆ เช่น เมล็ดธัญพืช เมล็ดถั่ว ผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เนื้อและผลิตภัณฑ์ประมงและเป็นเครื่องต้นแบบให้เกษตรกรที่ทำ อุตสาหกรรมกล้วยตากอบแห้งนำไปเป็นต้นแบบในการผลิตเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โครงการนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อเก็บรักษาพันธุ์พืชทีหายากและเป็นการขยายพันธุ์พืชไม่ให้กลายพันธุ์ ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชประกอบด้วยส่วนสำคัญคือห้องเตรียม อาหาร ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ และห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชเป้าหมายของโครงการคือ สมอไทย ขนุน พุดสวน มณฑา และยี่หุบ ศูนย์รวมนม ศูนย์รวมนมสวนจิตรลดา รับนมดิบจากสหกรณ์โคนมหนองโพและโรงโคนมสวนจิตรลดาเพื่อผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์จำหน่ายให้กับสมาชิกและโรงเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและยังนำรายได้ไปช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจการ ของโรงนมผงสวนดุสิตนมพาสเจอร์ไรซ์ที่ผลิตในโครงการมีการบรรจุ ๒ แบบคือ

    *แบบบรรจุถุง บรรจุนม ๒๒๕ มิลลิลิตร บรรจุนมรสจืด รสหวานกลิ่นวานิลลา

    รสหวานกลิ่นสละ และรสโกโก้


    *แบบบรรจุขวด บรรจุนม ๑๐๐๐ มิลลิลิตร และ ๕๐๐ มิลลิลิตร บรรจุรสจืด

    รสหวานกลิ่นวานิลลา รสหวานกลิ่นสละ รสโกโก้ และรสกาแฟ


    โรงนมผงสวนดุสิต

    โรงนมผงสวนดุสิตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื่องจากเกิดภาวะนมสดล้นตลาด สมาชิกผู้เลี้ยงโคนมจึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยเหลือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขนาดย่อมขึ้น เพื่อผลิตนมผงเป็นการแก้ปัญหานมสดล้นตลาด น้ำกลั่น น้ำกลั่นเป็นผลผลิตพลอยได้จากเครื่องระเหยนมซึ่งมีความบริสุทธิ์ค่อนข้าง สูงและมีมากพอที่จะนำไปผลิตเป็นน้ำกลั่นเพื่อใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์และใช้ ดื่มได้

    โรงเนยแข็ง

    โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้สร้างโรงเนยแข็งน้อมเกล้าถวายในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พุทธศักราช ๒๕๓๐ และคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซี . ซี . ฟรีสแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมน้อมเกล้าถวายอุปกรณ์สำหรับการผลิตเนยแข็ง

    ปัจจุบันโรงเนยแข็งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกสู่ตลาด เช่น นมข้นหวานบรรจุหลอด นมเปรี้ยวพร้อมดื่มรสต่าง ๆ ไอศกรีม นมสดพาสเจอร์ไรซ์ปราศจากไขมัน เนยแข็งเกาด้า เนยแข็งเช็ดด้า และเนยสด โรงนมเม็ด โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เคยผลิตนมเม็ดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แต่ประสบปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้จัดทำโรงนมเม็ดขึ้นใหม่เพื่อเป็นการส่ง เสริมโภชนาการแก่ผู้บริโภค และเพื่อเป็นการแนะนำการผลิตนมเม็ดขึ้นในประเทศ ปัจจุบันสามารถผลิตนมเม็ดได้วันละ ๗,๐๐๐ - ๑๒,๐๐๐ ซองต่อวัน มีทั้งสิ้น ๓ รส คือรสหวาน รสกาแฟ และรสช็อกโกแลต ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

    ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต
    ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต มีหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ และเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดไว้ โรงสีข้าวตัวอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงสีข้าวตัว อย่างขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อทำการทดลองสีข้าวและสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือกแบบต่าง ๆ และในปัจจุบันได้ดัดแปลงยุ้งฉางแบบสหกรณ์ให้สามารถนำข้าวเปลือกเข้าและออก จากยุ้งไปสีโดยไม่ต้องใช้คนแบกขน งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสให้ศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย เพราะว่าในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนหรืออ้อยราคาต่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินเป็นทุนวิจัยใช้ในการดำเนินงาน ๙๒๕,๐๐ บาท

    เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตร ร่วมกับบริษัทสุราทิพย์ได้ขยายกำลังผลิตแอลกอฮอล์เพื่อให้มีพอใช้ผสมกับ น้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์สำหรับรถยนต์ทุกคันของโครงการที่ใช้เบนซิน และในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีบริการแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงแบ่งเป็นหน่วยย่อย คือ

    ๑ . โรงแอลกอฮอล์ทำหน้าที่ ผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ ๙๕ และผลิตน้ำส้มสายชูจาก

    สับปะรดและเศษผลไม้อื่น ๆ

    ๒ . โรงอัดแกลบ ทำหน้าที่ผลิตแกลบอัดแท่งและเผาถ่านจากแกลบอัดเพื่อจำหน่ายและใช้เป็นเชื้อเพลิง

    สำหรับเครื่องกำเนิดไอน้ำของโรงกลั่นแอลกอฮอล์

    ๓ . งานพิเศษตามที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ได้แก่ บ้านพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในการศึกษาทอลอง

    เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพลังแสงอาทิตย์ และระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และเป็นน้ำ

    หล่อเย็นในการผลิตเทียนของโรงหล่อเทียนหลวงของสวนจิตรลดา น้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์

    การผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรซ์ได้เริ่มผลิตตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยผลิตน้ำส้ม น้ำอ้อย น้ำกระเจี๊ยบ และน้ำขิงออกจำหน่าย และส่งเสริมให้เกษตรจัดตั้งกลุ่มดำเนินงานในรูปของสหกรณ์เกษตร โรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง เริ่มโครงการเมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิต การตลาดที่จะผลิตผลไม้บรรจุกระป๋องเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนดื่มน้ำผลไม้มาก ขึ้น น้ำผลไม้บรรจุกระป๋องของโครงการมีหลายชนิด เช่น น้ำมะม่วง น้ำตะไคร้ น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง น้ำสับปะรด น้ำกาแฟ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เป็นต้น สาหร่ายเกลียวทอง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ งานวิจัยและพัฒนาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้นำน้ำกากมูลหมักซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตแก๊สชีวภาพมาใช้เลี้ยง สาหร่ายเกลียวทอง และนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารปลา

    • โรงกระดาษสา งานวิจัยและพัฒนาการปลูกและการผลิตกระดาษสาเพื่อสร้างอาชีพและรายได้แก่ กลุ่มราษฎรในชนบทและเป็นการอนุรักษ์กระดาษสาไว้ น้ำผึ้งสวนจิตรลดา โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงผึ้งโดยการรับซื้อน้ำผึ้ง ทำการบรรจุขวดและจัดหาตลาดจำหน่ายให้ ส่วนขี้ผึ้งนำมาผลิตเทียนสีผึ้ง

    เพราะบารมีพระองค์ท่านนั้นปกปักษ์ พ่อเหนื่อยหนักพัฒนาหาทางสอน หากลูกได้บรรจุผ่านทุกขั้นตอน จะเพียรสอนเด็กไทยให้กตัญญู


    ที่มา http://dit.dru.ac.th/ka/a32.php วันที่ค้นข้อมูล 17 กุมภาพันธ์ 2553

    วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

    ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยี




    คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี
    เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

    เนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำ ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรืออาจเป็นการรื้อฟื้นของเก่ามาปรับให้เหมาะกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะ อยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลอง หรืออยู่ระหว่างการทำวิจัยอยู่ก็ได้ หากแต่นวัตกรรมนั้นยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม

    ส่วนเทคโนโลยีนั้น มุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับ การทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

    ถ้าหากได้พิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในสังคมได้
    การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ก็จัดได้ว่านวัตกรรมได้พัฒนาตนเองกลายเป็นเป็นเทคโนโลยี และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

    อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก โดยนวัตกรรมเกิดขึ้นก่อน ส่วนเทคโนโลยีนั้นเกิดขึ้นตามมาจากพัฒนาการขีดสุดของนวัตกรรมที่ดีซึ่งได้ปูทางไว้ให้เทคโนโลยีเรียบร้อยแล้ว


    นวัตกรรมอาจกลายเป็นเทคโนโลยีได้ แต่เทคโนโลยีจะไม่กลับไปเป็นนวัตกรรมอีก แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นได้



    ที่มา http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/?q=node/99
    วันที่ค้นข้อมูล 8 กุมภาพันธ์ 2553

    เทคโนโลยีคืออะไร


    เทคโนโลยีคืออะไร

    เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) :


    การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
    เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือ

    ดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล พจนานุกรม

    ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอา

    วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

    ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)

    1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

    2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

    3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม


    ; วันนี้คุณใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์แล้วหรือยังจ๊ะ @_@ เทคโนโลยีมีประโยชน์ โปรดใช้ให้ถูกทางนะ


    ที่มา http://www.eduzones.com/knowledge-2-8-28291.html
    วันที่ค้นข้อมูล 8 กุมภาพันธ์ 2553

    นวัตกรรมคืออะไร


    “นวต” มาจากคำว่า ใหม่ (new หรือ nuvo) เมื่อพ่วงคำว่า “กรรม” ที่แปลว่า การกระทำลงไป จะกลายเป็น การกระทำใหม่ๆ หรือผลงานใหม่ๆ ซึ่งถ้าแปล นวัตกรรม = การกระทำใหม่ๆ ดูออกจะแคบไปสักหน่อย เพราะนวัตกรรมมีความหมายที่กว้าง และยิ่งใหญ่กว่าแค่ทำอะไรใหม่ๆ

    ถ้าเราสืบค้นเข้าไปดูในเว็บยอดนิยม คือ Wikipedia, the free encyclopedia จะพบคำอธิบายเกี่ยวกับนวัตกรรมอย่างละเอียดหลายหน้ากระดาษ

    หนึ่งในปัญหาของการจัดการนวัตกรรม ก็คือความเข้าใจในนิยามของคำว่านวัตกรรมที่ชัดเจน และบ่อยครั้งที่มักจะสับสนกับคำว่า “ประดิษฐกรรม (Invention)” แต่เดิมนั้นคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation มีความเชื่อกันว่ามาจากรากศัพท์ในภาษาลาติน“Innovare“ ซึ่งมีความหมายว่า ทำสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น แต่ในอีกมุมมองของบรรดานักเขียน นักวิชาการต่างคิดว่า คำว่า นวัตกรรมควรจะหมายถึง “กระบวนการของการปรับเปลี่ยนโอกาส ไปสู่แนวความคิดใหม่ๆ ที่สามารถจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปได้” นอกจากนี้ คำว่านวัตกรรม ยังมีผู้ให้นิยามไว้อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น“การใช้ประโยชน์จากแนวความคิดใหม่ๆที่ประสบความสำเร็จ” นิยามโดย แผนกนวัตกรรม ของ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศอังกฤษ ปี 2004


    “นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม (Industrial Innovation) คือกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ การผลิต การจัดการรวมไปถึงการดำเนินงานทางการค้า ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ การนำผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ หรือถูกปรับปรุงใหม่ออกไปใช้ในท้องตลาดเป็นครั้งแรก”
    นิยามไว้ใน “The Economics of Industrial Innovation 2nd Edition“
    ของ Chris Freeman (1982)


    “นวัตกรรม ไม่จำเป็นจะต้องสื่อถึงการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ออกสู่ตลาดเพียงอย่างเดียวแต่จะรวมไปถึง การก่อประโยชน์อย่างคุ้มค่าของการเทคโนโลยีที่แม้จะเป็นเพียงแค่การปรับปรุงอะไร บางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”
    นิยามไว้ใน “Invention, Innovation, re-innovation and the role of the user " โดย Roy Rothwell และ Paul Gardiner (1985)


    “นวัตกรรมคือ เครื่องมือเฉพาะด้านของผู้ประกอบการ ที่มีความสามารถในการผลิกผันโอกาสไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแต่ละธุรกิจ ซึ่งสามารถจะที่จะนำเสนอต่อผู้ให้สามารถ เรียนรู้ และ ฝึกฝนได้”
    นิยามไว้ใน “Innovation and Entrepreneurship" ของ Peter Drucker (1985)

    “ นวัตกรรม ” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
    หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้
    จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

    ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ

    ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่(Innovation)หรือสิ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำมาแล้วแต่หยุดกันไประยะหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นกลับมาใหม่แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัย

    ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development)มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project)หรือมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าสิ่งนั้น ๆ จะแก้ปัญหาหรือทำให้การดำเนินการบางอย่างดีขึ้นหรือไม่ ขั้นตอนนี้อาจใช้ระยะเวลานาน เพราะอาจมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น เงินทุนในการทำวิจัย การประสานงานขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรืออยู่ระหว่างการตัดสินใจของคนในสังคมนั้น ๆ ว่าจะยอมรับหรือไม่ เป็นต้น

    ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ผู้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน และมีความคิดสร้างสรรค์ ในขั้นตอนนี้หากนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ ยอมรับจนเกิดความคุ้นชินในการใช้ของคนในสังคมนั้น ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในขณะนั้น ถือเป็นการพัฒนาขีดสุดของนวัตกรรมที่จะแปรสภาพเป็น "เทคโนโลยี" อย่างเต็มที่

    การศึกษาจะก้าวไกล ถ้าครูใช้นวัตกรรม การศึกษาจะอยู่กับที่ หากครูดี EARLY หมด T_T


    ที่มา http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=119 และเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชานวัตกรรมการศึกษา โดยอาจารย์มงคล ภวังคนันท์
    วันที่ค้นข้อมูล 8 กุมภาพันธ์ 2553