วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรมคืออะไร


“นวต” มาจากคำว่า ใหม่ (new หรือ nuvo) เมื่อพ่วงคำว่า “กรรม” ที่แปลว่า การกระทำลงไป จะกลายเป็น การกระทำใหม่ๆ หรือผลงานใหม่ๆ ซึ่งถ้าแปล นวัตกรรม = การกระทำใหม่ๆ ดูออกจะแคบไปสักหน่อย เพราะนวัตกรรมมีความหมายที่กว้าง และยิ่งใหญ่กว่าแค่ทำอะไรใหม่ๆ

ถ้าเราสืบค้นเข้าไปดูในเว็บยอดนิยม คือ Wikipedia, the free encyclopedia จะพบคำอธิบายเกี่ยวกับนวัตกรรมอย่างละเอียดหลายหน้ากระดาษ

หนึ่งในปัญหาของการจัดการนวัตกรรม ก็คือความเข้าใจในนิยามของคำว่านวัตกรรมที่ชัดเจน และบ่อยครั้งที่มักจะสับสนกับคำว่า “ประดิษฐกรรม (Invention)” แต่เดิมนั้นคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation มีความเชื่อกันว่ามาจากรากศัพท์ในภาษาลาติน“Innovare“ ซึ่งมีความหมายว่า ทำสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น แต่ในอีกมุมมองของบรรดานักเขียน นักวิชาการต่างคิดว่า คำว่า นวัตกรรมควรจะหมายถึง “กระบวนการของการปรับเปลี่ยนโอกาส ไปสู่แนวความคิดใหม่ๆ ที่สามารถจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปได้” นอกจากนี้ คำว่านวัตกรรม ยังมีผู้ให้นิยามไว้อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น“การใช้ประโยชน์จากแนวความคิดใหม่ๆที่ประสบความสำเร็จ” นิยามโดย แผนกนวัตกรรม ของ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศอังกฤษ ปี 2004


“นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม (Industrial Innovation) คือกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ การผลิต การจัดการรวมไปถึงการดำเนินงานทางการค้า ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ การนำผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ หรือถูกปรับปรุงใหม่ออกไปใช้ในท้องตลาดเป็นครั้งแรก”
นิยามไว้ใน “The Economics of Industrial Innovation 2nd Edition“
ของ Chris Freeman (1982)


“นวัตกรรม ไม่จำเป็นจะต้องสื่อถึงการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ออกสู่ตลาดเพียงอย่างเดียวแต่จะรวมไปถึง การก่อประโยชน์อย่างคุ้มค่าของการเทคโนโลยีที่แม้จะเป็นเพียงแค่การปรับปรุงอะไร บางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น”
นิยามไว้ใน “Invention, Innovation, re-innovation and the role of the user " โดย Roy Rothwell และ Paul Gardiner (1985)


“นวัตกรรมคือ เครื่องมือเฉพาะด้านของผู้ประกอบการ ที่มีความสามารถในการผลิกผันโอกาสไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแต่ละธุรกิจ ซึ่งสามารถจะที่จะนำเสนอต่อผู้ให้สามารถ เรียนรู้ และ ฝึกฝนได้”
นิยามไว้ใน “Innovation and Entrepreneurship" ของ Peter Drucker (1985)

“ นวัตกรรม ” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้
จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่(Innovation)หรือสิ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำมาแล้วแต่หยุดกันไประยะหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นกลับมาใหม่แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมกับกาลสมัย

ระยะที่ 2 พัฒนาการ(Development)มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project)หรือมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าสิ่งนั้น ๆ จะแก้ปัญหาหรือทำให้การดำเนินการบางอย่างดีขึ้นหรือไม่ ขั้นตอนนี้อาจใช้ระยะเวลานาน เพราะอาจมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น เงินทุนในการทำวิจัย การประสานงานขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรืออยู่ระหว่างการตัดสินใจของคนในสังคมนั้น ๆ ว่าจะยอมรับหรือไม่ เป็นต้น

ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์ผู้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน และมีความคิดสร้างสรรค์ ในขั้นตอนนี้หากนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ ยอมรับจนเกิดความคุ้นชินในการใช้ของคนในสังคมนั้น ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในขณะนั้น ถือเป็นการพัฒนาขีดสุดของนวัตกรรมที่จะแปรสภาพเป็น "เทคโนโลยี" อย่างเต็มที่

การศึกษาจะก้าวไกล ถ้าครูใช้นวัตกรรม การศึกษาจะอยู่กับที่ หากครูดี EARLY หมด T_T


ที่มา http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=119 และเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชานวัตกรรมการศึกษา โดยอาจารย์มงคล ภวังคนันท์
วันที่ค้นข้อมูล 8 กุมภาพันธ์ 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น